วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559
หน้าที่ชาวพุทธ
ชาวพุทธคือ
ผู้ที่เลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ประกอบด้วย
นักบวช คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา โดยเรียกรวมๆว่า พุทธบริษัท 4 ซึ่งสามารถแยกออกเป็น
2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มสงฆ์ แยกเป็น พระภิกษุสงฆ์ และพระภิกษุณีสงฆ์ 2. กลุ่มคฤหัสถ์ แยกเป็นอุบาสก และอุบาสิกาชาวพุทธทั้ง
2 กลุ่ม
ต่างมีหน้าที่และบทบาทต่อพระพุทธศษสนาแตกต่างกัน อ่านเพิ่มเติม
การบริหารจิต
การบริหารจิต พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการฝึกจิตเป็นสำคัญ
เพราะมนุษย์มีจิตเป็นตัวนำการ กระทำทุกอย่าง จะต้องมีการพิจารณา
คิดนึกตรึกตรองเสียก่อน การฝึกจิตหรือการบริหารจิต จึงเป็นการกระทำเพื่อให้จิตมีสภาพตั้งมั่น
มีสติระลึกได้ มีสัมปชัญญะรู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา
การบริหารจิต
หมายถึง
การฝึกฝนอบรมจิตให้เจริญและประณีตยิ่งขึ้น
มีความปลอดโปร่ง
มีความหนักแน่นมั่นคง โดยเริ่มจากการฝึกฝนจิตให้เกิดสติและฝึกสมาธิให้เกิดขึ้นในจิต
พระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก (บาลี: Tipiṭaka; สันสกฤต: त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า[1] ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3
ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือพระวินัยปิฎก ว่าด้วยพระวินัยสิกขาบทต่าง ๆ ของภิกษุและภิกษุณีพระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระสูตรซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาของพระโคตมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก
ที่แสดงแกบุคคลต่างชั้นวรรณะและการศึกษา ต่างกรรมต่างวาระกัน
มีทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรองพระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยพระอภิธรรมหรือปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นธรรมะขั้นสูง อธิบายด้วยหลักวิชาล้วน ๆ
โดยไม่อ้างอิงเหตุการณ์และบุคคล
อริยสัจ4
อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก
ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่
การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก
การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ
ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ
ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ
ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐินิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ
ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิงมรรค คือ
แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ อ่านเพิ่มเติม
พระรัตนตรัย
พระรัตนตรัย หรือพระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน[1] ที่เรียกว่า รัตน (แก้ว) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก
เทียบด้วยดวงแก้วมณีพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า, พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเรียกเต็มว่าพุทธรัตนะ, ธรรมรัตนะ, สังฆรัตนะ
ซึ่งได้แก่พระพุทธ คือ ท่านผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง
แล้วสอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย, วาจา, ใจ ตามพระธรรมวินัยพระธรรม คือ พระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพระสงฆ์ คือ หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย
วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศและวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธโคดม โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ
(ต่างปีกัน) อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)